*반말
พันมัล ภาษาพูดที่สุภาพน้อยกว่ารูป 아/어/여요(ซึ่งเป็นภาษาพูดที่ไม่เป็นทางการแต่สุภาพในระดับหนึ่ง) ปกติจะใช้กับเพื่อนที่อายุใกล้เคียงกัน, เพื่อนสนิท, คนที่อายุน้อยกว่าหรือฐานะทางสังคมด้อยกว่า, เด็กๆ
รูปแบบการใช้
1.ถ้าตัด 요 จากรูปประโยค 아/어/여요 ก็จะกลายเป็นภาษาพัลมัล เช่น
어제 뭐 했어요? --> 어제 뭐 했어?
ออเจ มวอ เฮทซอโย๊ะ? --> ออเจ มวอ เฮทซอ? = เมื่อวานทำอะไร
어디 가요? --> 어디 가?
ออดิ คาโย๊ะ? --> ออดิ คา? = ไปที่ไหน
오늘 시간이 있어요? --> 오늘 시간이 있어 = วันนี้ว่างไหม
왜요? --> 왜! = ทำไมหรือ
2.이다 เปลี่ยนเป็น 이야 และ 아니다 เปลี่ยนเป็น 아니야
친구예요. --> 친구야
ชิ่นกูเยโย. --> ชิ่นกูยา = เป็นเพื่อนกัน
그 사람이 누구예요? 그 사람이 누구야?
คือ ซารามี นูกูเยโย๊ะ?--> คือ ซารามี นูกูยา? = คนนั้นเป็นใคร
이건 완 책이야? 아니야, 유리 책이야.
อีกอน หวาน แซกียา? อานียา, ยูริ แซกียา = อันนี้หนังสือหวานหรือ? ไม่ใช่, หนังสือยูริ
3.ใช้ในรูปอนาคตเปลี่ยนจากรูป (ㅇ)ㄹ 거예요.เป็น (ㅇ)ㄹ 거야
여기사진을 찍을 거예요. --> 여기사진을 찍을 거야.
ยอกี ซาจีนึล จิกึล กอเยโย. --> ยอกี ซาจีนึล จิกึล กอยา = จะถ่ายรูปตรงนี้
같이여행갈 거예요. --> 같이여행갈 거야.
คาชี่ ยอแฮงคัล กอเยโย --> คาชี่ ยอแฮงคัล กอยา. = จะไปเที่ยวด้วยกัน
4.ตอบ Yes, No
네 --> 어 , 아니요. --> 아니
เน --> ออ, อานีโย --> อานี
5.คำชักชวนในความหมาย “ กันเถอะ” เติม 자 ที่คำกริยา
점심 시간이야. 밥 먹자.
ชอมชิม ชีกานียา. พับม็อกจา = เวลาอาหารกลางวัน. กินข้าวกันเถอะ.
ในทางตรงกันข้ามเป็นการห้าม เติมคำว่า 지마
위험해서저기 가지마세요. --> 위험해서저기 가지마
วีฮอมแฮซอ ชอกี คาจีมาเซโย. / วีฮอมแฮซอ ชอกี คาจีมา = เพราะอันตรายอย่าไปที่นั่นเลย
6.คำสรรพนามก็ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน สำหรับผู้พูด
저는 --> 나는 ชอนึน / นานึน = ฉัน (ประธาน)
제가 --> 내가 เชกา / แนกา = ฉัน (ประธาน)
저를 --> 나를 ชอรึล / นารึล = ฉัน (กรรม)
저도 --> 나도 ชอโด / นาโด = ฉันด้วย
저한테 --> 나한테 ชอฮันเท / นาฮันเท = ถึงฉัน, สำหรับฉัน
제 --> 내 เช/ แน = ของฉัน
สำหรับผู้ฟังเหมือนคำที่กล่าวมาแล้วแต่จะเปลี่ยนจาก 나 เป็น 너 และ 내เป็น 네
7.การเรียกชื่อ หลายคนคงคุ้นเคยกันดีแล้ว
เติม 아 สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วยตัวอักษร 지훈아 อ่านว่า ชีฮูนา
เติม 야 สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วยสระ 유리야 อ่านว่า ยูริยา
Remark : อย่าลืมว่าการใช้เหล่านี้ใช้กับคนที่เพิ่งเจอครั้งแรก, ไม่สนิทกัน, ผู้ใหญ่กว่า, เจ้านาย ไม่ได้นะคะ
มิฉะนั้นเราจะกลายเป็นคนหยาบคายไปเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น