10/18/2559

ไวยกรณ์ 4

*** คำช่วยแสดงประธาน และกรรมในประโยค
เมื่อเราผันกริยาเป็นก็จะสามารถแต่งประโยคสั้นๆได้แล้วนะคะแต่ต้องมารู้จักคำชี้ประธาน, ชี้กรรมกันก่อน คำชี้ประธาน,
คำชี้กรรมไม่มีความหมายแต่ต้องใส่เพื่อให้รู้ว่าคำไหนทำหน้าที่เป็นประธานหรือเป็นกรรมในประโยค

** คำช่วยแสดงประธาน  이/가
วางไว้หลังคำนามเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำนามนั้นทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค  
วิธีการเติม
วาง 이 ไว้หน้าคำนามที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด
가방 + 이 --> 가방이 예뻐요. คาบางี เยปอโย  (กระเป๋าสวย)

วาง가 ไว้หน้าคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ
오빠 + 가 --> 오빠가 전화해요โอป้ากา ชอนฮวาแฮโย (พี่ชายโทรศัพท์)

นอกจาก  이/가 ที่ทำหน้าที่ชี้ประธานยังมีอีกที่ทำหน้าที่ชี้ประธานคือ  은, 는 โดย
은, 는ใช้ชี้เฉพาะเจาะจง  ส่วน이/가 ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง กล่าวทั่วๆไป
วิธีการเติม
วาง  은  ไว้หน้าคำนามที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด
옷 + 은 --> 옷은 비쌉니다. โอ-ซึน  พี-ซัม-นี-ดา  (เสื้อแพง)

วาง 는 ไว้หน้าคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ 오빠 + 는 --> 오빠는 운동해요. โอ-ป้า-นึน  อุน-ดง-แฮ-โย (พี่ชาย ออกกำลังกาย

Notice :

สำหรับใช้กับคำว่า “ฉัน” ใช้ได้ทั้ง  저는 (ชอ-นึน) หรือ 제가(เช-กา) / 내가 (แน-กา) แต่ 2 คำหลังต้องใช้คู่กับ 가 เท่านั้น
เพราะถ้าคำเดียวจะแปลว่า ของฉัน

** คำช่วยแสดงกรรม 을 / 를

วางไว้หลังคำนามเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำนามนั้นทำหน้าที่กรรมในประโยค โดยใช้ร่วมกับคำกริยาที่ต้องการกรรมมาเติมเต็ม
โครงสร้างประโยค ประธาน + กรรม+ คำกริยา (ที่ผันแล้ว) การแปลความหมายขึ้นต้นประโยคด้วยประธานแล้วแปลจากหลังไปหน้า

วิธีเติม
วาง을 หลังคำนามที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด
저는 책을 읽어요.
ชอนึน  แชกึล   อิลกอโย  = ฉันอ่านหนังสือ  
(저 + คำชี้ประธาน는 / 책 +  คำชี้กรรม 을 / คำกริยาที่ผันแล้ว -읽어요)

วาง를 หลังคำนามที่ลงท้ายด้วยสระ
동생이 사과를 먹어요.
ทงแซงี   ซากวารึล  มอกอโย  = น้องกินแอปเปิ้ล
동생+ คำชี้ประธาน이 / 사과+ คำชี้กรรม를 / คำกริยาที่ผันแล้ว  - 먹어요

***무엇을 해요? ในรูป 요 --> 무엇 แปลว่าอะไร เติมชี้กรรม 을 + คำว่า해요(ทำ) = ทำอะไร?
แต่นิยมผสมคำจึงออกเสียงว่า  뭐 해요? มวอ-แฮ-โย๊?
แต่ถ้าใช้กับคำกริยาอื่นๆก็ใช้ 무엇을 มู-ออ-ซึล ตามปกติเช่น 무엇을 먹어요? มู-ออ-ซึล  มอ-กอ-โย๊? = กินอะไร?

Notice :
ถ้าคำกริยาลงท้ายด้วย 하다 จะใส่คำชี้กรรมหรือไม่ใส่ก็ได้ ยกเว้นคำว่า 촣아하다 ต้องใส่คำชี้กรรมด้วย
저는 숙재를 해요  หรือ  저는 숙재해요  
 
***การสังเกตง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น 이/가,  은/ 는 หรือ  을 / 를 คำที่มีตัว ㅇ มักจะตามคำที่ลงท้ายด้วยตัวสะกด
เพราะจะเข้ากับกฎการโยงเสียง

** คำช่วยแสดงสถานที่  에 / 에서
คำช่วยแสดงสถานที่  에 (Direction) เป็นการชี้สถานที่ที่เป็นจุดหมายปลายทางมักใช้ร่วมกับคำกริยาที่แสดง
การเคลื่อนที่ เช่น  가다 (ไป) , 오다(มา) , 돌아가다(กลับไป) , 돌어가다(เข้าไป), 놀아가다(ไปเที่ยว) ,
내려가다(ลงไป) , 걸어가다(เดินไป) เป็นต้น จำง่ายๆที่ลงท้ายด้วย 가다 กับ 오다 จะใช้ 에 เป็นคำช่วยแสดงสถานที่  เช่น

아버자가 한국에 가요.  
อาบอจีกา ฮันกูเก คาโย = พ่อไปที่ประเทศเกาหลี
친구가 집에 와요.  
ชิ่นกูกา ชีเบ วาโย =  เพื่อนมาที่บ้าน
준수씨가 태국에 가요?  
จุนซูชี่กา เทกูเก คาโย =  คุณจุนซูไปประเทศไทยหรือคะ?
어디에 가요?  
ออดีเอ คาโย๊ะ? =  ไปไหนหรือคะ?

(Location) ชี้สถานที่ที่สิ่งใดมีอยู่ หรือไม่ได้มีอยู่ ใช้ร่วมกับคำกริยา 있다 , 없다เป็นลักษณะประโยคที่แสดงว่า
อะไร/ใครอยู่/ไม่ได้อยู่ที่ไหน เช่น

아버자가 한국에  있어요. = พ่ออยู่ที่ประเทศเกาหลี
아버자가  태국에 없어요. = พ่อไม่ได้อยู่ที่ประเทศไทย
선생님이 학교에 있어요? = อาจารย์อยู่ที่โรงเรียนหรือเปล่าคะ?
여동생이 어디에 있어요? = น้องสาวอยู่ที่ไหนหรือคะ?

*** จำง่ายๆคำช่วยแสดงสถานที่ 에 ใช้กับกริยา가다, 오다, 있다 , 없다 และคำกริยาผสมที่มีคำว่า 가다, 오다 รวมอยู่ด้วย
เท่านั้นส่วนกริยาอื่นๆใช้ 에서


에서 +  Action Verb
- ชี้สถานที่ที่มีการกระทำเกิดขึ้น ใช้ร่วมกับคำกริยาการกระทำ
- เป็นลักษณะประโยคที่แสดงว่าใครทำอะไรที่ไหน
- โครงสร้างประโยค คือ  
[ประธาน (이/가)+ สถานที่ (에서)+ กรรม(을/를) + คำกริยาที่ผันแล้ว

아버자가 한곡에서  일해요?
อาบอจีกา ฮันกูเกซอ อิลแฮโย๊ะ ? = คุณพ่อทำงานที่ประเทศเกาหลีหรือคะ?
어디에서 공부합니까?  
ออดีเอซอ คงบูฮัมนิก้า ?  =  เรียนที่ไหนหรือคะ ?
백화점에서 뭐 해요?
แบควาจอเมซอ มวอ แฮโย๊ะ?  =  ทำอะไรที่ห้าง?

에, 에서 เป็นคำช่วยชี้สถานที่  에 ยังเป็นคำช่วยในการชี้วันและเวลาอีกด้วยแสดงความหมายเหมือน  
at, on ในภาษาอังกฤษ เช่น

오후에 친구를 만나요.
โอ-ฮู-เอ ชิ่น-กู-รึล มัน-นา-โย = พบเพื่อนในตอนบ่าย

토요일에도 회사에 갑니까?
โท่-โย-อิ-เร-โด ฮเว-ซา-เอ คัม-นิ-ก้า? = วันเสาร์ก็ไปทำงานด้วยหรือคะ

여덟시에 학교에 갑니다.
ยอ-ดอล ชี-เอ ฮัก-กโย-เอ คัม-นิ-ดา. = ไปโรงเรียนตอน 8 โมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น